ค้นหา

ประวัติองค์กร

 

วิสัยทัศน์

                    กศน.ขอนแก่น กศน.สร้างสรรค์ มุ่งมั่น ส่งเสริมให้ประชาชนคนขอนแก่นได้รับการศึกษาตลอดชีวิต ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ 

 

พันธกิจ

  1.     จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพเชิงสร้างสรรค์
  2.     ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  3.     ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพที่หลากหลายและทั่วถึงโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  4.     ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5.     พัฒนาระบบบริหารจัดการ  บุคลากร และภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  

เป้าประสงค์

  1.     ประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
  2.     ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (Democracy) มีคุณธรรม จริยธรรม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (Decency) และมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug - Free)
  3.     ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
  4.     ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  5.     แหล่งการเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้ของประชาชน
  6. 6.    หน่วยงานและสถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

นโยบายสำคัญ

  1.     เร่งสร้างและพัฒนา  กศน.ตำบล: แหล่งเรียนรู้ชุมชน  ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน ดังนี้

                1) จัดสร้าง กศน. ตำบล : แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่มีอาคารสถานที่ชัดเจน เป็นเอกเทศ มีความเหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดบริการประชาชนและชุมชน และการติดต่อประสานงาน มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อการเรียนรู้ วัสดุและครุภัณฑ์ที่จำเป็นและพร้อมสำหรับการดำเนินงาน เพื่อกระจายโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตจำนวน 9 แห่ง ในพื้นที่อำเภอหนองสองห้อง พล แวงน้อย แวงใหญ่ ชนบท โคกโพธิ์ไชย เปือยน้อย  โนนศิลา และบ้านไผ่

                2) พัฒนา กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ผสมกลมกลืน สอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน  สามารถดึงดูดใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการ และมีความรู้สึกอบอุ่น สะดวกสบายเสมือน “บ้าน” ของตนเอง เมื่อเข้ามาใช้บริการให้บริการทางการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 26 อำเภอ จำนวน 199 ตำบล จำนวน 199 แห่ง

                3) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษา 3N ได้แก่ Ned Net โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ, NEIS ศูนย์กลางรวบรวมจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา, NLC ศูนย์เรียนรู้ แห่งชาติเพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และจัดตั้งเป็นจุดบริการ teacher TV ติวเข้มเติมเต็มความรู้ (Student Channel) และศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ( Fix it Center) เพื่อสนับสนุนการบริหาร รวมถึงการจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้  และให้บริการประชาชนในพื้นที่กศน. ตำบล 50 แห่ง

                4) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่านด้วยรูปแบบต่างๆ อย่างน้อย 1 ตำบล 1 กิจกรรม

 

  1.     เร่งรัดดำเนินงานตามนโยบายการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ดังนี้

                1) เร่งรัดดำเนินการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และขับเคลื่อนสู่ “ขอนแก่นนครแห่งการอ่าน” โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดขอนแก่น การขยายเครือข่ายอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านจำนวน 2,219 หมู่บ้าน จำนวน 4,438 คน

                2) เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยให้สถานศึกษามีคุณภาพผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกทุกแห่ง จำนวน 26 แห่ง 

                3) ปรับบทบาทของหน่วยงานและสถานศึกษา กศน. จากการเป็นผู้จัดการศึกษา มาเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้วยกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาบุคลากรทุกประเภทอย่างน้อย 1 ครั้ง/ ปี /ประเภท รวมจำนวน 537 คน

 

  1.     เร่งรัดจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน ดังนี้

                1) เร่งรัดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานในจังหวัดขอนแก่นที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนให้จบระดับมัธยมศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 8.13 ของกลุ่มเป้าหมาย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 65,870 คน

                2) จัดหาหนังสือเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน.ให้การรับรองคุณภาพมาตรฐานให้บริการยืมเรียน และหมุนเวียนให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ปีการศึกษา 2554 ได้เข้าถึงการบริการและสามารถยืมเรียนได้ครบทุกคน

                3) จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและปรับพื้นฐานการศึกษาโดยการส่งเสริมภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมค่าย (ICT) และกิจกรรมการจัดหาอุปกรณ์การสอนของครู หรือจัดหาสื่อหนังสือที่นอกเหนือจากแบบเรียนตามหลักสูตร รวมทั้งสร้างโอกาสส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนตามจุดเน้นของระดับการศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย

                4)พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหลัก บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรร้อยละ 80 ของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2554 โดยมีอัตราการเข้าสอบปลายภาคเรียนร้อยละ 80 และมีอัตราคงสภาพการเป็นนักศึกษาต่อเนื่องร้อยละ 90 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน

 

  1.     ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม  และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง ดังนี้

                1) จัดทำระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ เพื่อการประสานความร่วมมือในรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นเอกภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

                2) จัดทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในระดับพื้นที่ ระหว่าง กศน.อำเภอ , กศน.ตำบล , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ภาคีเครือข่าย ในการส่งเสริมสนับสนุนและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทุกภารกิจ

                3) เสริมสร้างแรงจูงใจให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง

                4) พัฒนาบุคลากร ภาคีเครือข่าย ให้มีศักยภาพในการร่วมจัดการศึกษาและส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยการจัดประชุม อบรม หรือสัมมนา อย่างน้อย 4 ครั้ง ต่อปี

นโยบายตามภารกิจ

  1.   นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ

              1.1  การสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  15 ปี  อย่างมีคุณภาพ

                     1) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าเล่าเรียน  ค่าจัดซื้อหนังสือเรียน  และค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภาคเรียนที่ 2/2553 จำนวน 82,385 คน และภาคเรียนที่1/2554 จำนวน 82,385 คน

                     2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศสามารถสืบค้นได้ทันความต้องการ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนโดยการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลรายบุคคลของประชากรวัยแรงงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นจำนวน 810,680 คน

                     3) ให้มีการจัดทำคู่มือการสอนแบบมีคุณภาพและการสอนแบบประสมประสานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการกับหลักสูตรแกนกลาง พัฒนากิจกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมและจัดกระบวนการเรียนรู้ อย่างน้อย 1 สถานศึกษา 1 นวัตกรรม รวมจำนวน 26 เรื่อง/นวัตกรรม

              1.2  การส่งเสริมการรู้หนังสือ

                    1) ส่งเสริมและประสานงานภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือของประชากรวัยแรงงานในระดับพื้นที่ทุกหมู่บ้าน จำนวน 2,219 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,032 คน

                     2) พัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 77 คน

                     3) พัฒนาสื่อส่งเสริมการรู้หนังสือและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพผู้เรียน โดยเน้น
การคงสภาพการรู้หนังสือให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  มีผลงานที่ดำเนินการเชิงสร้างสรรค์เพื่อนำเสนออย่างน้อย  1 ประเภท 1 กิจกรรม 1 สถานศึกษา

                     4) มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ
การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือและการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับให้ประชาชนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                     5) ดำเนินการติดตามประเมินผลการส่งเสริมการรู้หนังสือ และคัดเลือกกิจกรรม และสื่อเชิงสร้างสรรค์ที่ดำเนินการดีเด่น เพื่อเป็นผลงานนำเสนอระดับจังหวัดอย่างน้อย 2 รูปแบบและจัดทำรายงานผลต่อสาธารณะและผู้เกี่ยวข้อง

              1.3  การศึกษาต่อเนื่อง

                     1) มุ่งส่งเสริมและจัดการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพโดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพระดับพื้นฐาน ระดับกึ่งฝีมือ และระดับฝีมือ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันเน้นเนื้อหาทางเกษตรและพลังงานทดแทน ทั้งนี้ให้พัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายและทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่างกว้างขวาง พื้นที่ 199 ตำบล 26 อำเภอ จำนวน 11,940 คน

                     2) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนพื้นที่ 199 ตำบล 26 อำเภอ จำนวน 11,940 คน

                     3) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  โดยเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรม การเข้าค่ายการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปพัฒนาสังคมและชุมชนพื้นที่ 199 ตำบล 26 อำเภอ จำนวน 5,970 คน

                     4) จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมการเข้าค่ายการประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปพัฒนาสังคมและชุมชน พื้นที่ 199 ตำบล 26 อำเภอ จำนวน 11,940 คน

                     5) พัฒนาหลักสูตรและคลังหลักสูตรท้องถิ่น อาชีพ เผยแพร่และให้บริการทางเว็บไซต์ของสถานศึกษาและ กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ชุมชน จำนวน 199 ตำบล รวม 362 เว็บไซต์

                     6) นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน ประเมินผล สรุปและรายงานเป็นรูปเล่มเผยแพร่

                     7) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

 

              1.4    การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

                      1) มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐาน

                          - ระดับประถมศึกษา เน้นให้มีการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ใฝ่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ,อ่านคล่องเขียนคล่อง มีทักษะในการคิดขั้นพื้นฐาน มีทักษะชีวิตเพื่อการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ใฝ่ดี ใฝ่รู้ มีจิตสาธารณะ

                          - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีทักษะการคิดชั้นสูง การแก้ไขปัญหา การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและอยู่อย่างพอเพียง

                          - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยี การรักการเรียนรู้ การค้นพบตัวเอง การแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง

                      2) พัฒนาครูผู้สอนเพื่อให้สนับสนุนการพัฒนาและจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้การวัดผลประเมินผล การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลอย่างน้อย จำนวน 1 ครั้ง/คน

                      3) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น พัฒนาระบบการให้บริการระบบการเรียนรู้บนเว็บไซต์สถานศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมาย

                      4) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ ประกอบหลักสูตร โดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน

                      5) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต โดยให้มีผลปรากฎอย่างน้อย 1 เรื่อง ต่อ 1 ครู กศน.

                      6) มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง  โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

                      7) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐานส่งเสริมให้มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเลคทรอนิกส์ และโดยการนำข้อทดสอบกลางมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคลังข้อสอบ กศน.ขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2544 ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 24 วิชา หลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จำนวน 42 วิชา เพื่อให้บริการในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตร                            

              1.5  การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                     1) เร่งรัดให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องจำนวน 26 แห่ง

                     2) เร่งรัดให้สถานศึกษา ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก ทุกแห่ง จำนวน 26 แห่ง

                     3) เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน. อย่างต่อเนื่อง โดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  และสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก จำนวน 1 แห่ง ให้มีคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกในปี 2554

              1.6    การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

                     1) ส่งเสริมให้สถานศึกษาดำเนินการเทียบโอนความรู้ประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียนอย่างมีระบบ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายบรรลุผล การเรียน ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                     2) พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนดและมีการขยายหน่วยเทียบระดับที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งหมด
5 แห่ง 5 กลุ่มโซน กศน.อำเภอ

 

  1. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

          2.1  การส่งเสริมการอ่าน

                1) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนจังหวัดขอนแก่น ทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้ระดับอ่านคล่อง เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการปฏิรูปการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

                2) พัฒนาประชาชนคนขอนแก่น ให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้างเจตคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่าน ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และกำหนดการดำเนินงานเพื่อจูงใจ พัฒนา และขยายเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน

                3) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ให้เกิดขึ้นในสังคมคนขอนแก่น โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่านครบทุกหมู่บ้านจำนวน 2,120 หมู่บ้าน 2,120 แห่ง และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรม ขอนแก่นนครแห่งการอ่าน

                4) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกหมู่บ้าน 2,219 หมู่บ้าน / 4,438 คน

                5) ส่งเสริมให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน 50 แห่ง เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อน “นครแห่งการอ่าน” ในจังหวัดด้วยกระบวนการส่งเสริมการอ่าน

          2.2  ห้องสมุดประชาชนมีชีวิต

                1) มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนจำนวน 26 แห่ง

                2) จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในอำเภอที่ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง และพัฒนาในภาพรวมทุกแห่ง เพื่อจัดบริการให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเน้นการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานจำนวน 26 แห่ง

                3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดประชาชนไปยัง กศน.ตำบลและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้วยการจัดทำและพัฒนาเวบไซด์เพื่อการอ่านและบริการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ห้องสมุดประชาชน จำนวน 26 แห่ง และ กศน.ตำบล จำนวน 199 แห่ง

                4) จัดและพัฒนาการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชนในพื้นที่ให้บริการของห้องสมุดประชาชนจำนวน 26 แห่ง เชื่อมโยงกับ กศน.ตำบล 199 แห่ง

                5) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ

                6) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้มีความรู้ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี จำนวน 26 คน

                7) แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน

 

  1. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน

          3.1  กศน. ตำบล: แหล่งเรียนรู้ชุมชน

                1) จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ จำนวน 199 คณะ จำนวน 199 แห่ง และจัดให้มีแผนปฏิบัติงานประจำตำบลร้อยละ 100 จำนวน 199 แห่ง

                2) ให้ กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ จัดทำฐานข้อมูลรายบุคคล และศึกษาความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชน เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษาที่เหมาะสมของประชากรวัยแรงงาน จำนวน 810,680 คน

                3) มุ่งเน้นให้มีการนำหลักประชาธิปไตยมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตยโดยการอบรมแกนนำส่งเสริมประชาธิปไตยในทุกระดับหมู่บ้านจำนวน 2,219 หมู่บ้าน จำนวน2,219 คน และขยายจำนวนแกนนำเพิ่มขึ้น อัตรา1 : 1 เพิ่มเป็นจำนวน 4,438 คน

                4) ระดมทรัพยากรร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดหาและสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆให้กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้และเพื่อพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เป็นคนไทยยุคใหม่ที่สามารถค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จำนวน 50 แห่ง ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พร้อมอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน จำนวน 2 ชุด /แห่งโดยสามารถให้บริการกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 30 คน ต่อวัน

                5) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน. ตำบล: แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อการประสานเชื่อมโยง และส่งต่อผู้เรียนให้ได้รับบริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพตามฐานข้อมูลการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

                6) เร่งรัดการดำเนินงานตามภารกิจ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล: แหล่งการเรียนรู้ชุมชนและจัดให้มีการรายงานต่อสาธารณะชนจำนวน 1 ครั้ง / ปี /แห่ง จำนวน 199 แห่ง

                7) เร่งรัดจัดทำมาตรฐาน กศน.ตำบล: แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการบริหารและการบริการที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของประชาชนและชุมชน และเร่งรัดพัฒนา กศน.ตำบล ให้มีคุณภาพผ่านตามเกณฑ์อย่างน้อยจำนวน 50 แห่ง

                8) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อให้ กศน.ตำบล: แหล่งเรียนรู้ชุมชนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตโดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นไปตามบทบาท กศน. ตำบล 4 ด้าน ได้แก่ เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชน( Information Centre), ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ ( Opportunity Centre), ศูนย์การเรียนชุมชน(Learning Centre) และศูนย์ชุมชน (Community  Centre) โดยเร่งพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบที่ได้มาตรฐานระดับดี อย่างน้อยจำนวน 50 แห่ง

          3.2  อาสาสมัคร กศน.

                1) ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการบำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยดำเนินงานเป็นทีมร่วมกับครู กศน.ในระดับพื้นที่ขยายเครือข่ายอาสาสมัคร กศน. ให้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 4,438 คน ครอบคลุมพื้นที่ 2,219 หมู่บ้าน ( จำนวน 1 หมู่บ้าน : อาสาสมัคร กศน. 2 คน)

                2) ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัด และผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพโดยการจัดอบรม การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อยจำนวน 1 ครั้ง ต่อปี

                3) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่างๆแก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ด้วยการคัดเลือกและประกาศยกย่องอย่างน้อย 1  ครั้ง ต่อปี

          3.3  การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

                1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล: แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจระดับดี

                2) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชน จัดเวทีชาวบ้าน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชนโดยบรรจุกิจกรรมการศึกษาในแผนชุมชนอย่างน้อย 3 กิจกรรม/ แห่ง / แผนชุมชน

                3) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆของ กศน. และส่งเสริมการนำมาเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อยกระดับการศึกษา

                4) ส่งเสริมให้มีขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยให้มีการถอดองค์ความรู้และประสบการณ์เป็นหลักสูตรเผยแพร่ และใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้  อย่างน้อย 5 หลักสูตร/แหล่งเรียนรู้

                5) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนและพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

 

  1. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ

          4.1  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการพระราชดำริ หรือดำเนินการต่อเนื่องตามพระราชดำริ ดังนี้

                1) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถโครงการศูนย์ศิลปาชีพโสกส้มกบ   อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

                2) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                   2.1)  โครงการส่งเสริมอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

                   2.2)  โครงการพัฒนาการเกษตรและโภชนาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามพระราชดำริฯอำเภอหนองสองห้อง  จังหวัดขอนแก่น

                3) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ฯ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านหนองหัววัว อำเภอเมืองขอนแก่น

          4.2  การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

                1) จัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเด็กนอกระบบโรงเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม จำนวน 26 อำเภอ

                2) ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษเด็กเร่ร่อนโดยมุ่งเน้นให้เกิดทักษะพื้นฐานและสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น ดำรงตนเองได้อย่างไม่เป็นภาระในสังคมโดยขยายพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของจำนวนกลุ่มเป้าหมายเดิม

                3) จัดการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานและการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพผู้พิการร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยมุ่งเน้นให้สามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

                4) จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุม26 อำเภอ

  

  1. นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  

          5.1   ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดให้มีรายการประชาสัมพันธ์การศึกษาและให้บริการทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทางสถานีวิทยุชุมชนครอบคลุมพื้นที่ 26 อำเภอ /แห่ง/รายการ

          5.2   ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา กศน.ในพื้นที่ได้เข้าถึงช่องทางและมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพด้วยการจัดให้มีจุดบริการติวเข้มเติมเต็มความรู้ในแหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบล อย่างน้อยร้อยละ 60 ของ กศน.ตำบล รวมจำนวน 50 แห่ง/จุดและจัดทำเอกสารเสริมอย่างมีอย่างน้อยอำเภอละ 1แห่ง เพื่อกระจายโอกาสและการเข้าถึงวิชาการ

          5.3   พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีเวบไซด์เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ และฐานข้อมูล ในการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านระบบ ICT ครอบคลุมทุก กศน.ตำบล

          5.4   ส่งเสริมให้บุคลากรและภาคีเครือข่ายร่วมกันพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย สื่อ ICT เพื่อจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

 

  1. นโยบายด้านการบริหารจัดการ

          6.1  การพัฒนาบุคลากร

                1) มุ่งส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรทุกกลุ่มในสังกัดให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยการจัดอบรมพัฒนา แยกตามบทบาทอย่างน้อย 1 ครั้ง / ปี และส่งเสริมให้พัฒนารายบุคคลเฉพาะด้านตามความจำเป็นของหน่วยงาน / สถานศึกษา

                2) ดำเนินการอบรมและพัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบล และครู ศรช.ในสังกัดให้สามารถปฏิบัติงานตามภารกิจหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

                3) จัดให้มีแผนพัฒนาบุคลากร กศน. ในสังกัด เพื่อเป็นการเตรียมการในการเข้าสู่การปฏิบัติงาน กศน.ตามนโยบายและจุดเน้นอย่างมีคุณภาพ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยสามารถนำไปใช้ได้จริง มีการประเมินและรายงานผลเป็นรูปเล่มเมื่อสิ้นปีงบประมาณ

                4) ส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรอย่างน้อย 1 คน 1นวัตกรรม/เรื่อง

                5) ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะโดยประเมินจากผลการปฏิบัติงานเป็นฐาน

          6.2  การนิเทศ กำกับ ติดตาม

                1) จัดหารถยนต์จ้างเหมาเพื่อติดตาม ส่งเสริม และพัฒนาการนิเทศการศึกษาทั้งระบบ มุ่งสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน กศน.

                2) ส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัดได้มีการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีมาตรฐานตามที่สำนักงาน กศน.กำหนด

                3) นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานให้ทันกำหนดเวลาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสม

          6.3  โครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง

                1) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

                2) ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

                3) บริหารจัดการอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

          6.4  พัฒนาองค์ความรู้

                1) พัฒนานวัตกรรมและการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

                2) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ อย่างน้อย 1 อำเภอ 1เรื่อง เพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนและทิศทางการปฏิรูปในทศวรรษที่ 2 ( พ.ศ. 2552-2561)

                3) สำรวจฐานข้อมูลความต้องการการศึกษารายบุคคลและพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน  ถูกต้อง  ทันสมัย ส่งเสริมการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ และการนำไปใช้จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ