- รายละเอียด
- เขียนโดย นายกิตติพงศ์ อันสน
- หมวด: Uncategorised
- ฮิต: 4048
ยี่หร่า
ยี่หร่า ชื่อสามัญ Tree basil, Clove basil, Shrubby basil, African basil, Wild basil, Kawawya, Caraway friut, Caraway seed, Kummel, Caraway
ยี่หร่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum gratissimum L. จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรยี่หร่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยี่หร่า กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้) เป็นต้น
ทำความเข้าใจกันสักนิด ! หากพูดถึงยี่หร่า ตามพจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองเมืองไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม) ระบุไว้ว่า ยี่หร่าจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด
ชนิดแรกก็คือ ยี่หร่าชนิดที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "เทียนขาว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuminum cyminum L. และจัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE) มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม (ไม่ใช่ยี่หร่าที่กินใบ)
ชนิดที่สอง ยี่หร่าชนิดที่มีชื่อไทยหลายชื่อ เช่น จันทร์หอม เนียมต้น เนียม กะเพราญวน โหระพาช้าง เป็นต้น ซึ่งชื่อภาษาอังกฤษก็คือ Shrubby basil โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum gratissimum L. และจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา ซึ่งเป็นยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมนำมาผัดรับประทานกัน
ลักษณะของยี่หร่า
ต้นยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง
ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
ดอกยี่หร่าออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ช่อดอกนั้นจัดเป็นแบบ Spike-like raceme ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอก
ผลยี่หร่าหรือ เมล็ดยี่หร่า มีลักษณะเป็นรูปกลมรี แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่พอสุกหรือแก่แล้วจะกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งผลจะนิยมนำมาตากแห้งหรือนำไปอบแห้ง เพื่อใช้ทำเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวได้ดีเหมือนกับใบ
สรรพคุณของยี่หร่า
1. สามารถช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ (ใบ)
2. ช่วยในการบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
3. ใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซีและธาตุแคลเซียม ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยขับเหงื่อซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย (ใบ)
4. ใบยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ด้วยการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่มจนกว่าจะหาย (ใบ)
5. ช่วยแก้โรคเบื่ออาหาร (ใบ)
6. ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร (ต้น, รากแห้ง)
7. ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย (ใบ)
8. ต้นยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง (ใบ, ต้น, รากแห้ง)
9. ช่วยในการขับลมในลำไส้ (ใบ, ต้น, รากแห้ง)
10. น้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่ามีฤทธิ์ช่วยระงับอาการหดเกร็งของไส้ (น้ำมันหอมระเหย)
11. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-5 กรัมนำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะแล้วจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง (ผล)
12. ยี่หร่ายังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนในสตรีได้ (ใบ)
ประโยชน์ของยี่หร่า
1. ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิด เช่น แกง ซุป ต้มยำ เป็นต้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. อาหารไทยบางชนิดนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ด้วยการคั่วเมล็ดมาโขลกผสมกับเครื่องแกง ทำเป็นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ เป็นต้น
3. เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงช่วยป้องกันอาหารไม่ให้
เกิดการบูดเน่าเสียเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้งอีกด้วย
4. น้ำมันยี่หร่า (Caraway oil) นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยังนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้อีกด้วย
- รายละเอียด
- เขียนโดย นายกิตติพงศ์ อันสน
- หมวด: Uncategorised
- ฮิต: 638
บวบ
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
1. บวบงู ผลลักษณะกลมยาวปลายผลแหลม ผิวเรียบ มีแถบสีขาวสลับเขียวทั้งผล เมื่อสุกมีส้มแดง เมล็ดบวบงูมีขนาดใหญ่การปลูกจึงหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูกโดยตรงหรือเพาะกล้าก็ได้ อายุกล้าประมาณ 15-20 วัน ขนาดแปลงปลูก 1.6 x 6 เมตร ระยะปลูก 80 x 50 ซม. บวบงูจะเลื้อยทอดยอดที่อายุ 30 วันหลังหยอดเมล็ด ทำค้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ใช้ตาข่ายขึงเพื่อให้เถายึดเกาะ จะเริ่มออกดอกที่อายุ 45-50 วันหลังหยอดเมล็ดและเริ่มเก็บเกี่ยวผลอ่อนที่อายุ 50-60 วันหลังหยอดเมล็ด การใช้ประโยชน์ 2. บวบหอม ผลอ่อนสีเขียวมีลายเขียวเข้ม ผลแก่สีเขียวออกเหลืองจนถึงสีน้ำตาล มีเส้นใยเหนียว ลักษณะเป็นร่างแห การปลูกบวบหอมสามารถหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูกโดยตรง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 10-14 วัน ถอนแยกให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ ระยะปลูก 40-90 x 60-90 ซม. ใช้ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วใส่ก้นหลุมก่อนปลูก บวบหอมจะเลื้อยทอดยอดที่อายุ 15-20 วันหลังหยอดเมล็ด ทำค้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้เพื่อให้เถายึดเกาะ บวบหอมจะเริ่มออกดอกที่อายุ 42-70 วันหลังหยอดเมล็ดและเริ่มเก็บเกี่ยวผลอ่อนที่อายุ 63-91 วันหลังหยอดเมล็ด การใช้ประโยชน์ คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา
3. บวบเหลี่ยม เป็นไม้เถาอายุปีเดียว เถามีความยาว 6-8 เมตร ผลของบวบขนาดแตกต่างกันตามชนิด รูปทรงกระบอกมีเหลี่ยมตามความยาวผล เมล็ดมีลักษณะเป็นวงรี สีดำ ผิวขรุขระ ไม่มีปีกที่เมล็ด เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว นิยมปลูกโดยการหยอดเมล็ดในแปลงปลูก แปลงปลูกควรมีขนาดกว้างเพื่อให้เถาเลื้อยได้สะดวก ทำค้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ผูกยึดให้แข็งแรง บวบเหลี่ยมเริ่มเก็บเกี่ยวได้ที่อายุ 45-50 วันหลังหยอดเมล็ด และสามารถเก็บผลผลิตได้เป็นเดือน ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี การใช้ประโยชน์ |
- รายละเอียด
- เขียนโดย นายกิตติพงศ์ อันสน
- หมวด: Uncategorised
- ฮิต: 1522
ตะไคร้
ชื่อเครื่องยา |
ตะไคร้แกง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา |
ตะไคร้บ้าน |
ได้จาก |
เหง้าและลำต้น |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา |
ตะไคร้แกง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) |
คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (เหนือ) เซิดเกรย (เขมร สุรินทร์) ตะไคร้ (ภาคกลาง) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี) เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์) ไคร (คาบสมุทร) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cymbopogon citratus (DC.) Stapf |
ชื่อพ้อง |
Andropogon ceriferus Hack. Andropogon citratus DC. Andropogon fragrans C.Cordem. Andropogon roxburghii |
ชื่อวงศ์ |
Graminae (Poaceae) |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ลำต้นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง ตามปล้องมักมีไขปกคุลม เหง้า มีข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวล หรือสีขาวปนม่วง รสปร่า มีกลิ่นหอมเฉพาะ
เครื่องยา ตะไคร้แกง
ตะไคร้แกงสด
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ต้น รสหอมปร่า ขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด แก้อาการเกร็ง ขับเหงื่อ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ทำให้เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต เหง้า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ไข้หวัด ขับประจำเดือน ขับระดูขาว ใช้ภายนอกทาแก้อาการปวดบวมตามข้อ
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของลำต้นตะไคร้แกงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด
ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้ทั้งต้น ลดไข้ โดยนำมาต้มจนเดือดประมาณ 10 นาที ยกลงดื่มครั้งละครึ่งแก้วสามเวลา ใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนังโดยต้มกับน้ำและนำมาอาบ
ตำรับยาสมุนไพรล้านนา: ใช้รักษาอาการบวมในเด็ก วัยกลางคน และคนชรา โดยในตำรับประกอบด้วยตะไคร้ และสมุนไพรอื่นอีก 13 ชนิด นำไปต้มอาบ
ทางสุคนธบำบัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้บ้าน ช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัว มีชีวิตชีวา ทำให้กระปรี้กระเปร่า คลายเครียด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร บรรเทาอาการปวดโรคข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
รักษาอาการขัดเบา
เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 40-60 กรัม แห้ง 20-30 กรัม ทุบต้มกับน้ำพอควร แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือจะหั่นตะไคร้ คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร
รักษาท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด
ใช้เหง้าและลำต้นสด 1 กำมือ น้ำหนัก 40-60 กรัม ทุบพอแตก ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ ครั้งละ 1/2 แก้ว วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
องค์ประกอบทางเคมี:
พบสาร citral 80% นอกจากนี้ยังพบ geranial, nerol, geraniol, myrcene, limonene, eugenol, linalool, menthol, nerolidol, camphor, farnesol, citronellol, citronellal, farnesol
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์แก้ปวด
ทดสอบฤทธิ์แก้ปวดของน้ำมันหอมระเหยจากใบของตะไคร้สดที่กลั่นด้วยไอน้ำ ในหนูถีบจักรเพศผู้ สายพันธุ์ Swiss ใช้การทดสอบฤทธิ์ลดปวด 3 วิธี ได้แก่ Hot plate test, Acetic acid-induced writhings และ Formalin test การทดสอบด้วยวิธี hot-plateโดยจับเวลาที่หนูถีบจักร สามารถทนอยู่บนแผ่นความร้อน โดยการป้อน หรือฉีดน้ำมันหอมระเหยเข้าทางช่องท้อง และจับเวลาที่หนูสามารถทนอยู่บนแผ่นความร้อนได้ที่เวลา 30, 60 และ 90 นาที หลังได้รับสารทดสอบ ผลการทดสอบพบว่าหนูที่ได้รับการฉีดน้ำมันหอมระเหยจากใบตะไคร้ที่ขนาด 50 และ 100 มก./กก. สามารถเพิ่มระยะเวลาที่หนูทนอยู่บนแผ่นความร้อนได้ ที่เวลา 60 นาที เท่ากับ 50 และ 80% ตามลำดับ หนูที่ได้รับสารทดสอบโดยการกินสามารถเพิ่มระยะเวลาที่หนูทนอยู่บนแผ่นความร้อนได้ 40 และ 52% ตามลำดับ (ที่เวลา และความเข้มข้นเดียวกับวิธีฉีด) สารมาตรฐาน meperidine ขนาด 5มก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูที่เวลา 60 และ 90 นาที สามารถเพิ่มระยะเวลาที่หนูทนอยู่บนแผ่นความร้อนได้เท่ากับ 62 และ 48% ตามลำดับ พบว่าฤทธิ์ระงับปวดถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซน (opioid antagonist) แสดงว่ากลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดของสมุนไพรในตำรับ น่าจะเกี่ยวข้องกับตัวรับ opioid
การทดสอบด้วยวิธี acetic acid-induced writhing โดยป้อนสารทดสอบทางปาก หรือฉีดเข้าทางช่องท้องแก่หนู หลังจากนั้น 30 นาที (วิธีฉีด) หรือ 1 ชั่วโมง (วิธีกิน) จึงเหนี่ยวนำให้หนูเจ็บปวดโดยการฉีดกรดอะซิติก 0.6 % เข้าทางช่องท้อง ผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบตะไคร้สามารถลดการหดตัวของกล้ามเนื้อท้องของหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อให้โดยวิธีการฉีดในขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถลดการเจ็บปวดได้ 87.7% (สารมาตรฐาน indomethacin โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาด 2 mg/kg ยับยั้งได้ 96%)
การทดสอบด้วยวิธี formalin test ทำโดยการฉีดน้ำมันหอมระเหยเข้าทางช่องท้อง (50, 100, 200มก./กก. หรือป้อนทางปาก (50, 100 มก./กก.) ในหนูแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้น 30 นาที (วิธีฉีด) หรือ 60 นาที (วิธีกิน) จึงฉีด formalin 1% เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้า แล้วสังเกตพฤติกรรมการยกเท้าขึ้นเลียของหนู (ซึ่งแสดงถึงความเจ็บปวด) ใน 2 ช่วง คือ first phase (0-5 นาที หลังจากฉีด formalin) ซึ่งแสดงถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain) อีกช่วงหนึ่งคือ second phase (20 นาที หลังจากฉีด formalin) ซึ่งแสดงถึงการอักเสบ (inflammation phase) พบว่าเมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยในขนาด 50 มก./กก. และสารมาตรฐาน meperidine ขนาด 5มก./กก. สามารถลดการเจ็บปวดในระยะ second phase ได้ 70 และ 76% ตามลำดับ โดยฤทธิ์ระงับปวด ถูกยับยั้งได้ด้วยนาลอกโซน (opioid antagonist) แสดงว่ากลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดของสมุนไพรในตำรับ น่าจะเกี่ยวข้องกับตัวรับ opioid โดยสรุปน้ำมันหอมระเหยจากใบตะไคร้แกงมีฤทธิ์แก้ปวดโดยมีกลไกผ่านระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย (Viana, et al., 2000)
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดจากใบตะไคร้บ้านด้วยเอทานอล, น้ำเย็น และน้ำร้อน ทดสอบด้วยวิธี disc-diffusion ต่อเชื้อ 3 ชนิด ได้แก่เชื้อแบคทีเรีย Staphyococcus aureus, Escherıchıa coli และเชื้อรา Candida albicans ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดจากใบตะไคร้บ้านสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ทั้ง 3 ชนิด โดยสารสกัดที่ยับยั้งเชื้อ S. aureus และ E. coli ได้ดีที่สุด คือสารสกัดเอทานอล โดยมีค่าเฉลี่ยบริเวณใสในการยับยั้งเชื้อ (inhibition zone) เท่ากับ 16±1.75 และ 12± 0.00 มิลลิเมตร ตามลำดับ สารสกัดใบตะไคร้บ้านด้วยน้ำเย็นยับยั้งเชื้อ C. albicans ได้ดีที่สุด โดยมีค่า inhibition zone เท่ากับ 10± 0.58 มิลลิเมตร (ยามาตรฐานสำหรับเชื้อ S. aureus, E. coli และ C. albicans ได้แก่ gentamycin, olfloxacin และ clotrimazole ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ย inhibition zone เท่ากับ >30, >30 และ 35 มิลลิเมตร ตามลำดับ (Okigbo and Mmeka, 2008)
ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ และสาร citral ที่ได้จากน้ำมันหอมระเหย ทดสอบด้วยวิธี disk diffusion โดยใช้เชื้อรา จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ Candida albicans ATCC 10231, Candida albicans ATCC 18804, Candida albicans CI-I (clinical isolate), Candida albicans CI-II, Candida krusei ATCC 6258, Candida glabrata ATCC 2001, Candida tropicalis ATCC 750 และ Candida parapsilosis ATCC 22019 ซึ่งเชื้อราเหล่านี้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ผิวหนัง ช่องปาก หลอดอาหาร ช่องคลอด รวมทั้งการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น ผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ และสาร citral ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหย ในขนาด 4 μL ออกฤทธิ์แรงในการยับยั้งเชื้อราทุกชนิด โดยมีค่าบริเวณใสในการยับยั้งเชื้อ (>20 มิลลิเมตร) ซึ่งมากกว่าสารมาตรฐาน nystatin (0.3 mg/mL, 20.0 μL) ในเชื้อทุกชนิดที่ใช้ทดสอบ ยกเว้นเชื้อ C. krusei ต้องใช้น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ และสาร citral ในปริมาณ 8 μL การหาปริมาณสาร citral ในน้ำมันหอมระเหยตะไคร้ด้วยวิธี gas chromatography พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 76% และปริมาณ citral ที่คาดว่าจะมีอยู่ในน้ำมันหอมระเหย 4 μL และ 8 μL เท่ากับ 2.70 และ 5.41 mg ตามลำดับ (Silva, et al., 2008)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ทดสอบในสัตว์ทดลอง เมื่อให้ในขนาด 20 เท่า ของขนาดที่ใช้เป็นอาหารในคน ไม่พบอาการพิษ
ระวังการใช้ในคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) เนื่องจาก citral จะทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น
เอกสารอ้างอิง:
1. Okigbo RN, Mmeka EC. Antimicrobial effects of three tropical plant extracts on Staphylococcus aureus, Escherichia coli and Candida albicans. Afr J Trad CAM. 2008;5(3):226-229.
2. Silva CB, Guterres SS, Weisheimer V, Schapoval EES. Antifungal activity of the lemon grass oil and citral against Candida spp. The Brazilian Journal of Infectious Diseases. 2008;12(1):63-66.
3. Viana GSB, Vale TG, Pinho RSN, Matos FJA. Antinociceptive effect of the essential oil from Cymbopogon citratus in mice. J Ethnopharmacology. 2000;70:323-327.
ข้อมูลตำรับยาเลือดงาม : www.thai-remedy.com
- รายละเอียด
- เขียนโดย นายกิตติพงศ์ อันสน
- หมวด: Uncategorised
- ฮิต: 1973
ฟักทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Decne. ชื่อสามัญ Pumpkin วงศ์ CUCURBITACEAE |
ลักษณะ : ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย ในประเทศตะวันตก นิยมนำฟักทองมาเจาะเป็นช่อง มีจมูก ตา แล้วใส่เทียน หรือดวงไฟข้างในเพื่อฉลองในวันฮาโลวีน เรียกว่า แจคโอแลนเทิน' (Jack-o'-lantern pumpkin) ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลงในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน |
คุณค่าและสารอาหาร ฟักทอง เป็นพืชผักที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ซึ่งได้แก่ ฟักทอง แตงกวา แตงร้าน ฟักแฟง มะระ บวบ แตงโม แคนตาลูป ฯลฯ เป็นพืชผักที่มีราคาถูก มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณและถนอมสายตา นำมาทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ยอดอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่แกงเลียง แกงส้มเปรอะ แกงส้ม เป็นต้น เนื้อใช้ทำอาหารได้ทั้งคาว-หวาน ทั้งผัด-แกง-ขนม และใช้เป็นอาหารเสริมในเด็กเล็ก รวมทั้งดัดแปลงมาใช้โรยหน้าหรือปนในขนมต่างๆ ทำให้มีสีสันสวยงาม และมีคุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น |
ประโยชน์ ฟักทองเป็นผักที่มีประโยชน์มากอีกชนิดหนึ่ง นอกจากจะใช้เนื้อฟักทองเป็นอาหารแล้ว ยังสามารถใช้เป็นยาได้ด้วยเมล็ดฟักทองก็นำไปคั่วกินเป็นอาหารว่างได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถสกัดน้ำมันจากเมล็ดฟักทองใช้เป็นยาได้อีกด้วย |
สรรพคุณทางยา สรรพคุณทางสมุนไพรของฟักทอง เนื้อใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน เยื่อภายในผลใช้พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวด ส่วนเมล็ดที่เคี้ยวกันมัน ๆ นั้นใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะและบำรุงร่างกาย รากนั้น ในตำราโบราณใช้ต้มดื่มน้ำเป็นยาแก้ไอ ฟักทองมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก หากกินทั้งเปลือกก็จะได้คุณค่าเพิ่มขึ้นอีก มีเบต้า-แคโรทีน ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เนื้อฟักทองสามารถควบคุมระดับน้าลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ ไต รวม ๆ ก็คือ ช่วยควบคุมสมดุลในร่างกายนั้นเอง จะกินของหวาน หรือของคาว ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ว่าง ๆ ก็ไม่รู้จะหาของกินเล่นเป็นอะไร ก็ลองเอาฟักทองสักชิ้นมานึ่ง พอสุกก็เอามาจิ้มน้ำตาล หรือจะกินเปล่า ๆ ยิ่งตอนนี้มีคนเอามาอบกรอบกินเล่น ง่ายและดีต่อร่างกายมากกว่าขนมถุงขนมซองไม่รู้กี่เท่า เมล็ดฟักทองแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง เหล็กรวมทั้งมีโพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี สามารถป้องกันการเกิดนิ่ว และใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด นอกจากนี้ฟักทองยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล เหมาะสำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตร ที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส และเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย |
- รายละเอียด
- เขียนโดย นายกิตติพงศ์ อันสน
- หมวด: Uncategorised
- ฮิต: 1080
ผักหวานป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melientha suavis Pierre ชื่อสามัญ Pak-wan Tree วงศ์ Opiliaceae ชื่ออื่นๆ ก้านตรง จ๊าผักหวาน โถหลุ่ยกะนิ เต๊าะ นานาเซียม ผักหวานใต้ใบ และมะยมป่า |
ลักษณะ : ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้างถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6-12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำไย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำดับต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุกขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลผ่อนสีเขยวมีนวลเคลือบและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว |
คุณค่าทางอาหาร
|
ประโยชน์ ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผัก จะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อน แก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหาร มีรสหวานกรอบ ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ และระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่า ทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ |
สรรพคุณทางยา ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวาน ต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลัง |